อายุ 20 กว่า แต่มีปัญหาผมบางแล้ว…มาดูสาเหตุและวิธีการดูแลรักษาอย่างละเอียดกัน

ท่ามกลางตารางชีวิตประจำวันอันแสนวุ่นวาย ทุกท่านเคยมีความรู้สึกเหล่านี้บ้างไหม?  “ระยะหลังดูเหมือนจะเริ่มเถิกขึ้นรึเปล่า?”   “เหมือนปริมาณผมจะลดน้อยลง”  ความกังวลเหล่านี้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ทำให้เกิดผมบางลงอย่างจริงจังได้

ปัญหาผมบางดูจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็น “ปัญหาของคนวัย 30” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาผมบางก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนวัย 20 ปีเลย บทความนี้นอกจากจะมาไขสาเหตุที่อาจทำให้เกิดผมบางในวัย 20 กว่าๆ แล้ว จะขอแนะนำถึงวิธีการจัดการกับผมบางที่สามารถทำตามได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน

วอนทุกท่านลองอ่านบทความนี้ดู ก่อนที่ปัญหาผมบางจะสายเกินแก้

สาเหตุของผมบางในวัยยี่สิบคือ?

ก่อนอื่น.. สาเหตุของการผมบางในวัย 20 มากจากไหน? แม้อายุจะเพิ่งอยู่ในวัย 20  แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดผมบางได้เลย เพราะแต่ละบุคคลอาจมีสาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดผมบางได้ ดังนั้น ขอให้ลองอ่านบทความเปรียบเทียบกับไลฟสไตล์ประจำวันของตนเองดู

สาเหตุของผมบาง ข้อที่ 1. ฮอร์โมนขาดสมดุล

ฮอร์โมนขาดสมดุล อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากความเครียดจากการทำงาน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ทำให้เกิดผมบางได้

เมื่อร่างกายรู้สึกถึงความเครียด จะส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติเสียสมดุล ส่งผลให้ฮอร์โมนขาดสมดุลไปด้วย  นอกจากนี้ ความเครียดยังส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิตให้แย่ลง ทำให้เลือดส่งสารอาหารไปเลี้ยงหนังศีรษะได้ไม่เพียงพอ และส่งผลต่อการเกิดผมบางในที่สุด

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุของฮอร์โมนขาดสมดุลเช่นกัน ในระหว่างที่ร่างกายหลับพักผ่อนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนจำนวนมากออกมาช่วยสร้างเส้นผม การนอนหลับไม่เพียงพอจะกลายเป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผม และส่งผลให้เกิดผมบางในที่สุด

ในเพศหญิง ก็ต้องระมัดระวังในเรื่องฮอร์โมนขาดสมดุลหลังจากการคลอดบุตรเช่นกัน ภายหลังจากการคลอดบุตรแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างรวดเร็ว ผลที่ตามมาก็คือมีการหลุดร่วงของเส้นผมเกิดขึ้นในระยะชั่วคราว ซึ่งเรียกว่า “อาการผมร่วงหลังคลอดบุตร” โดยปกติแล้วอาการผมร่วงหลังคลอดบุตรนี้จะเริ่มดีขึ้นภายหลังจากคลอดบุตรประมาณครึ่งปี ถึงประมาณ 1 ปี หรือในบางคนอาจกินระยะเวลานานกว่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งในบางกรณีอาการผมร่วงดังกล่าวก็อาจยืดเยื้อยาวนานเป็นอาการระยะยาวได้

สาเหตุของผมบาง ข้อที่ 2. อาการผมร่วงเป็นวงกลม

ในกรณีที่เกิดผมบางจนสามารถเห็นเป็นลักษณะวงกลมได้ มีความเป็นไปได้ที่เป็นการแสดงของอาการผมร่วงเป็นวงกลม

อาการของโรคผมร่วงเป็นวงกลมนั้น กล่าวกันว่ามีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ หรือมีชื่อเรียกว่า “โรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (Autoimmune diseases)” กล่าวคือ โรคภูมิคุ้มกันต้านตนเองนี้จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์เข้าโจมตีต่อมรากผมช่วงที่กำลังจะเจริญเติบโตเสียเอง

สาเหตุของอาการอาจมีหลากหลาย ที่สำคัญกล่าวกันว่าความเครียดและระบบประสาทอัตโนมัติที่เสียสมดุลอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการดังกล่าว ดังนั้น เราควรระวังไม่ให้เกิดความเครียดสะสมในชีวิตประจำวันจนเกินไป เพื่อรักษาสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติเอาไว้

สาเหตุของผมบาง ข้อที่ 3. ผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) 

หากรู้สึกเป็นกังวลกับอาการผมบางเป็นบางส่วนอย่างบริเวณด้านหน้าหรือส่วนบนสุดของศีรษะ มีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดจากผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) อาการผมบางแบบพันธุกรรมนี้ มีสาเหตุจาก “ดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone-DHA)”  และ “กลุ่มเซลล์รีเซ็ปเตอร์ (Receptor)”

DHT เกิดจากรวมตัวกันระหว่างฮอร์โมนเพศชายเทสโตสเตอโรน กับเอนไซม์ 5α-reductase (5-alpha reductase) และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อการเติบโตของเส้นผม

นอกจากนี้ รีเซ็ปเตอร์ (ตัวรับ) สำหรับฮอร์โมนเพศชายที่อยู่บริเวณไรผมหรือด้านหน้าของศีรษะ เมื่อรับรู้ถึงการหลั่งฮอร์โมนเพศชายแล้ว มีหน้าที่ในการส่งสัญญานไปยังการทำงานของเซลล์ ดังนั้น เมื่อรีเซ็ปเตอร์สามารถรับรู้ถึง DHT ได้แล้ว ก็จะกระตุ้นให้เกิดปัจจัยที่ทำให้ผมหลุดร่วงเพิ่มมากขึ้น (โปรตีน Transforming growth-factor-beta (TGF-β) 

โปรตีน Transforming growth-factor-beta (TGF-β) จะคอยขัดขวางวงจรการเกิดเส้นผมทำให้วงจรทำงานผิดปกติ เส้นผมที่กำลังอยู่ในระยะเจริญเติบโต (Anagen phase) เปลี่ยนสับเข้าสู่ช่วงระยะหยุดเจริญเติบโต (Catagen phase) แทน จึงทำให้เส้นผมบางลง นำไปสู่การเกิดเส้นผมบางต่อไป

ทั้งนี้ ผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “อาการผมร่วงในผู้ชาย” ถือเป็นอาการผมร่วงที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ชายเท่านั้น ต่อไป เราจะมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับอาการผมร่วงที่มีความสัมพันธ์กับอาการผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) ดังกล่าว

〇 อาการผมร่วงในวัยรุ่น ก็ถือเป็นผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) 

“อาการผมร่วงในวัยรุ่น” ที่เริ่มแสดงอาการผมบางมาตั้งแต่ช่วงอายุ 10 ปีขึ้นไป ถือเป็น อาการผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) รูปแบบหนึ่ง

เนื่องจากในช่วงวัยเยาว์ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนยังถูกหลั่งออกมาจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะรวมตัวกับ DHT ได้ง่าย จึงถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่จะเกิดอาการผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) ได้ง่ายเช่นกัน

ตัวอย่างของผู้ที่ยังมีอายุน้อยแต่ก็เริ่มมีอาการผมบางแล้วก็มีให้เห็น ดังนั้น ใครที่เริ่มรู้สึกว่าผมร่วงดูชัดขึ้น ขอแนะนำให้คอยหมั่นตรวจเช็คสภาพเส้นผมและหนังศีรษะของตัวเองอยู่เสมอ

〇 สำหรับผู้หญิงก็มีอาการผมร่วงที่เรียกว่า ผมบางแบบพันธุกรรมในเพศหญิง (FPHL)

สำหรับผู้หญิงแล้วก็สามารถมีอาการผมร่วงได้เช่นกัน หรืออาจมีชื่อเรียกว่า “Female AGA (FAGA)” หรือ “FPHL” ซึ่งอาการที่แสดงออกมาจะแตกต่างจากกรณีของผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) ในเพศชายอย่างสิ้นเชิง โดยมีลักษณะเฉพาะของอาการคือ ปริมาณเส้นผมโดยรวมทั้งศีรษะลดลง ดูบางลงนั่นเอง

กล่าวกันว่ากรณีของ FAGA ในเพศหญิงนั้น มักเกิดได้ง่ายในช่วงอายุ 40-50 ปี แต่ในช่วงวัยยี่สิบปีก็อาจมีเกิดขึ้นได้บ้างแต่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก ส่วนสาเหตุนั้นยังไม่สามารถเจาะจงได้อย่างชัดเจน แต่คาดว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนที่ทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงเส้นผมนั่นเอง

สาเหตุของผมบางแตกต่างกันไปตามแต่ละบริเวณของร่างกาย

ผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) ในเพศชายจะแสดงอาการลุกลามโดยเฉพาะบริเวณส่วนบนสุดของศีรษะ ไรผมบริเวณหน้าผาก 

ส่วนบริเวณด้านข้างของศีรษะ เนื่องจากไม่มีรีเซ็ปเตอร์ที่เป็นสาเหตุของการเกิด AGA หากเริ่มรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับอาการผมบางบริเวณด้านข้างศีรษะ สาเหตุน่าจะพิจารณามาจากความเครียด งานหนัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอมากกว่า 

นอกจากนี้ หากรู้สึกกังวลกับผมบางบริเวณใกล้ๆ กับรอยแสก (หรือไรผมบริเวณรอยแสกผม) กรณีดังกล่าวอาจเกิดจาก ผมร่วงจากการดึงรั้ง (Traction Alopecia) ทั้งนี้ ผมร่วงจากการดึงรั้ง (Traction Alopecia) การถักผมที่แน่นเกินไป ถักเปียที่ดึงรั้งมากไปอาจทำให้เกิดผมร่วงได้

ด้วยเหตุนี้ สาเหตุของอาการผมบางจึงแตกต่างกันไปตามแต่บริเวณที่แสดงอาการ การตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องจึงมีความจำเป็น

วิธีรักษาผมบาง

สำหรับใครที่ต้องการ “เข้ารับการรักษาอาการผมบาง” จะขอแนะนำวิธีการรักษาอาการผมบาง ที่เหมาะสำหรับคนวัย 20 ปี สามารถนำไปใช้ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผมบางแบบพันธุกรรมในเพศชาย หากเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติแล้ว ควรรีบรับการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อยับยั้ง DHT หรือหาทางช่วยกระตุ้นให้เกิดเส้นผมใหม่

การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยคลินิกผิวหนัง หรือคลินิกรักษาเฉพาะทางด้านการรักษาผมบาง ซึ่งอาจมีทั้งการจ่ายยาเพื่อรับประทานรักษาอาการ หรือยาทาภายนอก

โดยปกติคลินิกโรคผิวหนังจะทำการรักษาอาการอักเสบ หรือปัญหาทางด้านผิวหนัง เพื่อหยุดอาการลุกลามของผมบาง ในขณะที่คลินิกรักษาเฉพาะทาง คือนอกจากจะหยุดการลุกลามของผมบางแล้ว ยังเพิ่มการรักษาเพื่อกระตุ้นการสร้างผมใหม่อย่างจริงจัง 

สำหรับผลลัพธ์ของการเข้ารักษาที่คลินิกเฉพาะทางรักษาผมบางนั้น แม้จะคาดหวังผลลัพธ์ได้ดีก็จริง แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาก็มักจะมีราคาสูงกว่าคลินิกโรคผิวหนัง

การใช้ยาปลูกผม

ยาปลูกผม ถือเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยจะเข้าไปกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์รากผม (human hair follicle dermal papilla cells) ทำให้วงจรการเกิดเส้นผมกลับมาทำงานเป็นปกติ โดยมีส่วนผสมของยาขยายหลอดเลือดไมน็อกซิดิล (Minoxidil) ที่เป็นตัวยาชนิดเดียวที่กระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่นให้การรับรองว่ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นการงอกของเส้นผมได้จริง และสามารถทำการรักษาอาการผมบางได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

การใช้ยาปลูกผม ต้องทำความเข้าใจความเสี่ยงของผลข้างเคียงเสียก่อนที่จะพิจารณาเป็นทางเลือกหนึ่งของวิธีรักษาผมบาง

การดูแลรักษาผมบาง เริ่มตั้งแต่วัย 20 ได้เลย!

ไม่ว่าคุณจะเข้ารับการรักษาผมบางหรือไม่ก็ตาม การดูแลรักษาอย่างเป็นประจำในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่สมควรปฏิบัติ ยิ่งเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างรับการรักษาผมบางอยู่ด้วย แต่กลับดำเนินชีวิตในรูปแบบที่ทำร้ายเส้นผม ก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ควรจะได้จากการรักษาหมดประสิทธิภาพไป

ต่อไปจะขอแนะนำวิธีการดูแลรักษาผมบางที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่ในวัยยี่สิบปี 

ทบทวนโภชนาการอาหาร

สิ่งสำคัญในการเลือกโภชนาการอาหาร คือ การรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม อย่างเช่น “โปรตีน” “ซิงค์” และ “วิตามิน” 3 สิ่ง ที่ค้องรับประทานในปริมาณที่สมดุลกัน

โปรตีนถือเป็นองค์ประกอบหลักของเส้นผม กล่าวคือ เส้นผมเกิดจากกรดอะมิโน 18 ชนิดรวมตัวกันเรียกว่า “เคราติน” ในจำนวนกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของเคราตินนี้ กรดอะมิโนที่ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ในร่างกาย หรือที่เรียกว่ากรดอะมิโนจำเป็น เป็นสิ่งที่ต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป

ส่วนซิ้งค์มีส่วนช่วยในการสร้างเคราติน ถึงแม้ว่าจะมีกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นของเคราตินเพียงพอก็ตาม แต่หากขาดซิงค์แล้ว นอกจากจะไม่สามารถสร้างผมขึ้นใหม่ได้แล้ว ยังอาจเกิดผมร่วงได้ด้วย นอกจากนี้ ซิงค์ยังมีหน้าที่ในการยับยั้งการเกิด เอนไซม์ 5α-reductase (5-alpha reductase) ที่สร้าง DHT ที่เป็นสาเหตุของการเกิดผมบางแบบพันธุกรรมในเพศชาย (AGA) ดังนั้น ซิงค์จึงถือว่าช่วยป้องกันการเกิดอาการ AGA ได้ด้วย

วิตามินแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น วิตามิน A E ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ส่วนวิตามิน B มีผลในการเติบโตของเส้นผม

อย่างไรก็ดี สารอาหารดังกล่าวต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม และระวังไม่ให้ร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

การป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต

แม้ว่ารังสีอุลตร้าไวโอเล็ตจะไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดผมบางโดยตรง แต่ก็ยังสร้างผลเสียให้กับหนังศีรษะที่เปรียบเสมือนฐานของเส้นผม ผลกระทบจากรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่สะสมบนหนังศีรษะ จะขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผม และทำให้เกิดผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

ในฤดูร้อนที่แสดงแดดแรง เป็นช่วงเวลาที่ควรหาวิธีป้องกันแสงแดดเพื่อสุขภาพที่ดีของหนังศีรษะ อย่างเช่นการใส่หมวก หรือกางร่ม หรือแม้แต่การใช้สเปรย์กันแดด ก็เป็นวิธีการที่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ทบทวนการใช้แชมพู

สาเหตุของผมบางอย่างหนังศีรษะแห้ง หรือปริมาณไขมันที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถดูแลรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยการพิจารณาทบทวนการใช้แชมพู

ที่แนะนำคือการใช้สกัลป์แชมพูที่ทำหน้าที่บำรุงปรับสภาพหนังศีรษะ ทำหน้าที่ชะล้างไขมันที่เกาะบนหนังศีรษะ ขณะเดียวกันก็มีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื้นเพื่อป้องกันหนังศีษะแห้ง ถือเป็นผลิตภัณฑ์แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงดูแลหนังศีรษะอย่างแท้จริง

หากยังเลือกชนิดแชมพูไม่ถูก ขอแนะนำ “Polypure Scalp Shampoo | โพลีเพียว สกัลป์ แชมพู” ที่ช่วยป้องกันทั้งรังแคและอาการคัน ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ ถึง 4 ชนิด (piroctone olamine, dipotassium glycyrrhizinate, salicylic acid, Tocopherol Acetate) นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารสกัดจากพืช 24 ชนิด ที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นอีกด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากมีส่วนผสมที่อาจกระตุ้นการระคายเคืองผสมอยู่ด้วย ในขั้นตอนการผลิตจึงได้ทำการทดสอบ Patch Test (※) ซึ่งคือ การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังแล้วอย่างเข้มงวด เมื่อล้างออกจึงไม่รู้สึกอาการระคายเคือง ในขณะเดียวกันก็สามารถทำความสะอาดรูขุมขน ผิวหนัง ชั้นเคลือบผิว และสามารถขจัดการอุดตันของเคราตินได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงเป็นแชมพูที่อยากแนะนำให้แก่ผู้ที่ต้องการสัมผัสที่สะอาดสดชื่น

※ การตรวจสอบผื่นภูมิแพ้แบบสัมผัสผิวหนังในช่วงเวลา 24 ชม. ตรวจสอบโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง (ความแดง อาการบวม) การตรวจสอบทางแล็บ S2

ทบทวนการจัดแต่งทรงผม

การแสกผมทรงเดียวกันตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังเฉพาะบริเวณนั้นได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การจัดทรงผมที่มีการถักหรือดึงเส้นผมเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลเสียต่อรากผมและหนังศีรษะ ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดผมบาง

การเปลี่ยนสลับรอยแสกเป็นประจำ หรือกำหนดวันที่ปล่อยผมให้เป็นอิสระไม่มัดรวบผม ก็ถือเป็นการดูแลรักษาเส้นผมที่ควรจะต้องให้ความใส่ใจเช่นกัน

การเริ่มต้นใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมด้วย น้ำยาปลูกผม

น้ำยาปลูกผมนั้น มีการจำแนกประเภทระหว่าง “เวชสำอาง” และ “ยา” อยู่จากปริมาณและความเข้มข้นของส่วนผสมที่เป็นสารออกฤทธิ์

ความแตกต่างของส่วนผสมและปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่อยู่ในยาดูแลเส้นผม จะเป็นเส้นแบ่งระหว่าง “เวชสำอางทางการแพทย์” กับ “ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เวชสำอางทางการแพทย์”

“ยาปลูกผม” ถือว่ามีความเสี่ยงในผลข้างเคียง แต่สามารถหวังผลที่มีประสิทธิภาพได้ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ “เวชสำอาง” นั้นมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานในด้านป้องกันมากกว่าการรักษาผมบาง หรือมักใช้เพื่อการปรับสภาพหนังศีรษะให้ดีขึ้นมากกว่า

หลายคนคงสงสัยความแตกต่างระหว่างยาดูแลเส้นผม และยาปลูกผม ว่าต่างกันอย่างไร สิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงคือ ส่วนผสมว่ามี ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) ด้วยหรือไม่ ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในยาปลูกผม กล่าวคือ วิธีการจัดการผมบางระหว่างยาปลูกผม และยาดูแลเส้นผมนั้นแตกต่างกัน ดังนั้น ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับปัญหาข้อกังวลในแต่ละบุคคล

หากคุณต้องการป้องกันผมบาง และกระตุ้นให้เส้นผมเจริญเติบโตได้ดีขึ้น เราขอแนะนำให้ใช้เริ่มจากการใช้ผลิตภัณฑ์ปลูกผมที่เป็นเวชสำอางก่อน

สำหรับใครที่ยังเลือกไม่ถูกว่า จะใช้ผลิตภัณฑ์ปลูกผมที่เป็นเวชสำอางแบบใดดี  ขอแนะนำให้ลอง “Polypure EX | โพลีเพียว อีเอ็กซ์” ที่มีสารออกฤทธิ์สำคัญ 5 อย่าง (สารสกัดจากโสม, Swertia Japonica (สารสกัดสมุนไพรพื้นเมืองของญี่ปุ่น), Dipotassium Glycyrrhizate (สารสกัดรากชะเอมเทศ), Panthenyl Ethyl Ether, Diphenhydramine Hydrochloride) เสริมด้วยสารที่ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นจดสิทธิบัตรเฉพาะ “ไบโอโพลีฟอสเฟต” (สารสกัดจากยีสต์) ที่ทั้งรักษาความชุ่มชื้น กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดอาการคัน รังแค ถือเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีประสิทธิภาพ ช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมหนังศีรษะให้ดีขึ้น

ไลฟ์สไตล์การรักษาผมบางของคนวัย 20

สำหรับใครที่อยู่ในวัยยี่สิบปีแล้วกำลังคิดว่า “ผมบางเหรอ? ยังหรอกน่า” ขอบอกว่าแท้จริงแล้ว มีอาการต่างๆ และสาเหตุมากมายอย่างเช่น ฮอร์โมนขาดสมดุล และอาการผมบางเป็นวงกลม ที่ส่งผลต่อการลุกลามของผมบางได้ นอกจากนี้ ยังมีกรณีของอาการผมร่วงบางแบบพันธุกรรมในเพศชาย (AGA) ที่มักเกิดขึ้นเฉพาะในบุรุษในวัยผู้ใหญ่ หากเริ่มกังวลในผมบางแล้ว อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาโดยการแพทย์เฉพาะทางตามอาการและสาเหตุที่ได้วินิจฉัยแล้ว

สำหรับใครที่อยากหยุดอาการลุกลามของผมบาง ก็ควรเริ่มจากการดูแลรักษาในชีวิตประจำวัน โดยเริ่มจากการทบทวนโภชนาการอาหารที่เป็นการดูแลจากภายใน และตามด้วยการดูแลจากภายนอก อันได้แก่ ทบทวนการป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต การเลือกใช้แชมพู ไปจนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาปลูกผม เพราะการมีสุขภาพเส้นผมที่ดีถือเป็นเรื่องสำคัญการเริ่มต้นดูแลเส้นผมนั้น ไม่มีคำว่า “เร็วเกินไป” และควรเริ่มต้นดูแลกันตั้งแต่ในวัย 20 กันได้เลย